NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคไต

โมดูลที่ 3 - อาหารการกิน

บทเรียนที่ 8 - ควบคุมของเหลวที่นำเข้าร่างกาย


ควบคุมปริมาณของเหลวที่นำเข้าร่างกาย

  • หากเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตวาย จะต้องกำจัดปริมาณของเหลวที่นำเข้าร่างกาย ตามคำแนะนำของแพทย์
  • ของเหลวในที่นี่ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่น้ำดื่มเท่านั้น แต่หมายถึงอาหารทุกอย่างที่เป็นของเหลว หรือมีส่วนประกอบของน้ำ เช่น ชา กาแฟ น้ำซุป น้ำแกง นม น้ำหวานต่างๆ

สังเกตตัวเอง

  • การฟอกไตทั้ง 2 แบบ เป็นการช่วยระบายน้ำออกจากร่างกาย
  • แต่ก็ต้องใช้การดูแลตนเองประกอบด้วย โดยต้องดูว่าในแต่ละวันสามารถดื่มน้ำ หรือรับน้ำเข้าไปในร่างกายได้แค่ไหน
  • ดูจากปริมาณปัสสาวะที่เรามีในแต่ละวันด้วย รวมถึงปริมาณน้ำที่เสียไปกับอุจจาระ เหงื่อ ลมหายใจ
  • ชั่งน้ำหนักตัวในเวลาเดิมก่อนกินอาหารทุกวัน และบันทึกไว้เพราะบางครั้งการมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอาจเกิดจากน้ำและของเหลวที่คั้งค้างอยู่ในร่างกาย หรือเพราะการกินของเหลวมากเกินไป
  • หากร่างกายมีปริมาณน้ำมากเกินไปทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ สังเกตได้คือ รองเท้าคับ แหวนคับ หรือว่าสายตาเปลี่ยนไป กดลงที่ผิวหนังแล้วมีรอยบุ๋ม ซึ่งจะเห็นได้ที่ทั้งหน้า มือ เท้า หรือน้ำท่วมปอดมีอาการหายใจไม่สะดวก

ดับกระหายอย่างไรดี

ต่อไปนี้เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่จะจำกัดปริมาณน้ำและช่วยดับกระหายได้บ้างโดยไม่ต้องกินน้ำเยอะเกินไป ลองดูว่า แบบไหนที่คุณคิดว่าน่าจะทำได้

  • ดื่มน้ำเฉพาะเวลาที่หิวน้ำค่อยๆจิบแค่พอดับกระหาย
  • ดื่มในภาชนะเล็กๆ
  • กินผลไม้ช่วยดับกระหายแทนได้ หรือผลไม้ที่แช่เย็น เช่น องุ่นแช่เย็น 1-2 เม็ด หรืออาจแช่น้ำผลไม้ให้เป็นน้ำแข็ง แล้วกินคำเล็กๆ 2-3 คำเหมือนกินไอติมแท่ง
  • หากต้องกินอาหารที่มีน้ำ ใช้ซ้อมตักขึ้นมาแทนใช้ช้อนตัก กลั้วคอ กลั้วปาก ด้วยน้ำเปล่าแล้วบ้วนทิ้ง ดื่มน้ำโดยใส่น้ำในเหยือกเท่ากับปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันแล้วดื่มจากเหยือกนั้นเพื่อให้เห็นได้ชัดเจนว่าเหลือปริมาณน้ำอีกเท่าไหร่ที่จะดื่มได้ในวันนี้
  • สิ่งที่ควรระวังคือ ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้น ก็จะต้องวัดว่าเราดื่มน้ำไปเยอะเท่าไหร่ วัดดู 1-2 วัน
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูงหรืออาหารรสหวานจัด หรือรสจัดแบบอื่นๆ
  • ระวังการนำน้ำเข้าร่างกาย รวมถึงของที่รูปร่างไม่เป็นของเหลว แต่จริงๆก็คือน้ำ เช่น เยลลี่ ไอศกรีม ซุปข้น แกง น้ำจิ้ม น้ำราด น้ำซอสต่างๆ รวมถึงผักผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น แตงโม องุ่น มะเขือเทศ

“รู้แล้ว ลองทำดูนะ”

กิจกรรม

เติมคำที่ถูกต้อง

หากร่างกายมีปริมาณน้ำมากเกินไปทำให้เกิดภาวะ...

บวมน้ำ

คุณตอบได้ถูกต้อง เก่งมากครับ ยังไม่ถูก ลองตอบใหม่นะ




คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคไต สะสมครบ 21 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคไต จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคไต ความรู้พื้นฐาน รู้จักไต รู้จักโรคไต สาเหตุของโรคไต อาการของโรคไต ความจริงจากเพื่อน แนวทางการรักษาไต ไตวาย ทำอย่างไร? ไตวาย เป็นอย่างไร สิทธิการรักษา เปรียบเทียบ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กับ การล้างไตช่องท้อง อาหารการกิน ควบคุมอาหารไว้ ได้พลังงานพอ กินโปรตีนให้เหมาะ ระวังโปแตสเซียม เลี่ยงอาหารโซเดียมสูง เคล็ดลับในการคุมโซเดียม ควบคุมฟอสฟอรัส ควบคุมของเหลวที่นำเข้าร่างกาย ใส่ใจปรุงอาหาร ออกกำลังกาย ท่าออกกำลังกาย ท่ายืดเหยียด ออกกำลังกายต้องระวังอะไรบ้าง? เรื่องจริงจากเพื่อน คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว พ.อ. หญิง นภชา บุณยรักษ์ คุณสรนันท์ ภูมิอ่อน