คอร์ส โรคไต
โมดูลที่ 3 - อาหารการกิน
บทเรียนที่ 4 - ระวังโปแตสเซียม
ระวังโปแตสเซียม
โปแตสเซียมมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึงหัวใจด้วย
เราได้รับโปแตสเซียมจาก
- ผัก
- ผลไม้
- ถั่ว
- ถั่วเมล็ดแห้ง
- นม
- เนื้อสัตว์
นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงอย่างไม่น่าเชื่อ
นั่นคือ
- มะเฟือง
- ทุเรียน
- น้ำลูกยอ
- กล้วยหอม
- ส้มสายน้ำผึ้ง
- ผักโขม
- หน่อไม้
ถ้าเรากินอาหารที่มีโปแตสเซียมมากเกิน
- ไตก็จะกำจัดส่วนเกินนั้นให้ออกทางปัสสาวะ
- แต่เมื่อไตทำงานไม่เต็มที่ จึงทำให้มีโปแตสเซียมหลงเหลือในร่างกาย
- หากมีเหลือเกินปริมาณที่เหมาะสม อาจทำให้หัวใจทำงานผิดปกติจนถึงหยุดเต้นได้
- สำหรับผู้ฟอกที่ล้างไตทางช่องท้องนั้น จะสามารถขับโปแตสเซียมออกจากร่างกายได้จากการล้างไต เพราะการล้างไตทางช่องท้องสามารถกำจัดของเสียและโปแตสเซียมออกจากร่างกายได้ตลอดเวลา ดังนั้นไม่ต้องจำกัดโปแตสเซียมเพราะมีแนวโน้มที่ระดับโปแตสเซียมจะต่ำ
- แต่สำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมยังต้องคอยควบคุมปริมาณโปแตสเซียมให้ดีอย่าให้มากเกินไป
เคล็ดลับการกินโปแตสเซียม
- อาหารที่เรากินย่อมมีโปแตสเซียมอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
- หากมีค่าโปแตสเซียมในเลือดสูง ก็ควรเลือกกินอาหารที่มีค่าโปแตสเซียมต่ำหรือปานกลาง
- ผักเป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่บางชนิดก็มีค่าโปแตสเซียมสูง
เราจึงสามารถเตรียมผักก่อนจะนำไปปรุงอาหารได้ ดังนี้
- ปอกเปลือกออก และหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
- นำไปล้างด้วยน้ำอุ่น
- ย้ายผักมาใส่หม้อขนาดใหญ่ เติมน้ำร้อนลงไป 4-5 เท่าของปริมาณผัก แช่ผักทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง
- หลังจากแช่ผักในน้ำร้อนแล้ว ให้นำผักมาลวกน้ำอุ่นอีก 3 ครั้ง
- แล้วนำผักไปต้มด้วยน้ำปริมาณน้ำมากๆ ยกขึ้นสะเด็ดน้ำ ค่อยนำไปปรุงอาหาร
แนะนำอาหารที่มีธาตุโปแตสเซียม
อาหารที่มีธาตุโปแตสเซียมสูง (ระวัง)
- ผลไม้ : กล้วย แก้วมังกร ขนุน แคนตาลูป แตงโม แตงไทย ฝรั่ง มะละกอ มะขามหวาน มะปราง ทุเรียน ส้ม สตอเบอร์รี่ เสาวรส น้ำผลไม้ต่างๆ ผลไม้แห้ง เช่น ลูกเกด ลำไยแห้ง อินทผาลัม ถั่วอัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหินพานต์
- ผัก : กะหล่ำดอก กะหล่ำปลีม่วง กระเจี๊ยบเขียว กระชาย กระถิน กระเทียม ขิง แครอท จมูกข้าว ถั่วฝักยาว น้ำลูกยอ ใบขี้เหล็ก ใบและเมล็ดมะรุมแห้ง บร็อคคอลี่ เผือก ฟักทอง มะเขือเทศ มะเขือเทศสีดา มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเดื่อ มะระจีน มันแกว มันฝรั่ง มันเทศ ผักหวาน ผงลูกยอ มะรุม รากบัว ลูกยอ วาซาบิ สะเดา สะตอ หัวปลี หัวไซเท้า เห็ดกระดุม เห็ดโคน เห็ดตับเต่า เห็ดฟาง เห็ดหูหนูแห้ง เห็ดเผาะ เห็ดเป๋าฮื้อ หอมแดง หน่อไม้ แห้ว
- เนื้อสัตว์ : กุ้ง ปู ปลาทู เนื้อวัว
- อื่นๆ : น้ำมะพร้าว กาแฟ นมข้นหวาน เบียร์ ช็อคโกแลต มันฝรั่งทอด ซอสมะเขือเทศ
อาหารที่มีโปแตสเซียมปานกลาง
- ผลไม้ : ชมพู่ เชอร์รี่ น้อยหน่า ทับทิม ละมุด ลองกอง ลิ้นจี่ ลำไย ส้มโอ องุ่น
- ผัก : กะหล่ำปลี กุยช่าย ข้าวโพดอ่อน คะน้า น้ำเต้า พริกหวาน ผักโขม ผักบุ้ง แตงกวา ฟักเขียว มะเขือยาว มะละกอดิบ หอมใหญ่
- ธัญพืช : ข้าวบาร์เลย์ แป้งเอนกประสงค์ เส้นก๋วยเตี๋ยว
- อื่นๆ : ตับ นมวัว ฟองนม พริกไทยดำ กานพลู กระวาน
อาหารที่มีโปแตสเซียมต่ำ
- ผลไม้ : เงาะ มะม่วง มังคุด ท้อ สละ สาลี่ สับปะรด ส้มเช้ง แอปเปิ้ล
- ผัก : กระเพรา ผักกวางตุ้ง ชะอม ตำลึง ถั่วพู ถั่วลันเตา ใบบัวบก ใบแมงลัก บวบ ผักกาดขาว ผักกาดหอม โหระพา เห็ดหูหนู
- เครื่องดื่ม : น้ำอัดลม น้ำหวานที่แต่กลิ่นแต่สี น้ำมะนาว โซดา
- อื่นๆ : ข้าว เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ เนื้อแกะ ขิงอบแห้ง น้ำผึ้ง มัสตาร์ด น้ำส้มสายชู
การตรวจเลือดในแต่ละเดือนจะบอกระดับค่าโปแตสเซียมในร่างกาย
- เราจึงต้องดูให้แน่ใจว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยหรือไม่?
- ถ้ายังก็ต้องปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการเพื่อปรับอาหารต่อไป
คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]
สำหรับคอร์สโรคไต สะสมครบ 21 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคไต จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน
กติกา
- ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
- คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
- คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่