NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคไต

โมดูลที่ 3 - อาหารการกิน

บทเรียนที่ 7 - ควบคุมฟอสฟอรัส


มีฟอสฟอรัสไหม

  • ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการสร้างกระดูก
  • ซึ่งหากได้รับมากเกินไป ร่างกายก็ขับออกได้ทางปัสสาวะ
  • แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถขับฟอสฟอรัส ส่วนเกินออกมาได้
  • หากมีระดับฟอสฟอรัสสูงเกินไป ก็จะทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูก
  • ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกหักง่าย รวมถึงอาจมีอาการคันตามผิวหนังกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้

แล้วจะคุมฟอสฟอรัสยังไงดี?

การแก้ไขคือ

  1. กินยาที่จับกับฟอสฟอรัสในเลือด
  2. เลือกกินอาหาร ต้องควบคุมอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น
    • นม และผลิตภัณฑ์จากนม
    • ถั่วเมล็ดแห้ง
    • เครื่องในสัตว์
    • ไข่แดง อาหารที่ทำจากไข่แดง เช่น เค้ก เบเกอรี่ ทองหยิบ ทองหยอด โกโก้ น้ำอัดลม โซดา เบียร์
  3. รับการฟอกไตให้ถี่กว่าเดิม รวมถึงออกกำลังให้กระดูกแข็งแรง

อาหารเล่านี้มีฟอสฟอรัส

นมและผลิตภัณฑ์

เช่น นมสดรสจืด ชนิดหวาน นมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย นมข้น นมผง นมปรุงแต่งกลิ่นรส นมเปรี้ยว โยเกิร์ตชนิดข้นและชนิดดื่มได้ ไอศกรีม คัสตาร์ดครีม ชีส ช็อกโกแลต และเนยแข็งทุกชนิด เป็นต้น

ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์

เช่น ถั่วคั่ว ถั่วทอด เนยถั่ว นมถั่วเหลือง ลูกชุบ กระยาสารท เต้าฮวย และเต้าหู้ เป็นต้น

อาหารโปรตีนสูงบางชนิด

เช่น เครื่องในสัตว์ แมลง ไข่แง และอาหารที่ทำจากไข่แดง ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา บะหมี่ มายองเนส สลัดครีม

เมล็ดพืชแห้ง ธัญพืชและผลิตภัณฑ์

เช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดฟักทอง เมล็ดดอกทานตะวัน ข้าวบาร์เล่ย์มอลต์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ลูกเดือย งาดำ เครื่องดื่มธัญพืชต่าง ๆ

อาหารที่มีลักษณะเป็นผง

เช่น น้ำตาลป่น นมผง เกลือป่น ครีมผง ผงเครื่องดื่มสำเร็จรูปต่างๆ

อาหารที่ทำจากยีสต์

เช่น ขนมปังปอนด์ โดนัท ขนมอบ เบเกอรี่ เค้ก แป้งซาลาเปา หมั่นโถว

อาหารเนื้อสัตว์แปรรูป

เช่น ไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น (ใส่ฟอสเฟตเพื่อให้มีลักษณะหยุ่นๆ)

เครื่องดื่มสีเข้ม

เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มโกโก้ โคล่า เบียร์

อาหารทะเลแช่แข็ง

เช่น กุ้ง ปลาทะเล แล่เป็นชิ้นแล้วแช่แข็ง

อาหารที่บริโภคได้ทั้งกระดูก

เช่น กุ้งแห้ง ปลากรอบ ปลาเล็กปลาน้อย ครีบปลา

ภาพประกอบบทเรียน



คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคไต สะสมครบ 21 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคไต จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคไต ความรู้พื้นฐาน รู้จักไต รู้จักโรคไต สาเหตุของโรคไต อาการของโรคไต ความจริงจากเพื่อน แนวทางการรักษาไต ไตวาย ทำอย่างไร? ไตวาย เป็นอย่างไร สิทธิการรักษา เปรียบเทียบ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กับ การล้างไตช่องท้อง อาหารการกิน ควบคุมอาหารไว้ ได้พลังงานพอ กินโปรตีนให้เหมาะ ระวังโปแตสเซียม เลี่ยงอาหารโซเดียมสูง เคล็ดลับในการคุมโซเดียม ควบคุมฟอสฟอรัส ควบคุมของเหลวที่นำเข้าร่างกาย ใส่ใจปรุงอาหาร ออกกำลังกาย ท่าออกกำลังกาย ท่ายืดเหยียด ออกกำลังกายต้องระวังอะไรบ้าง? เรื่องจริงจากเพื่อน คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว พ.อ. หญิง นภชา บุณยรักษ์ คุณสรนันท์ ภูมิอ่อน