NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคไต

โมดูลที่ 3 - อาหารการกิน

บทเรียนที่ 1 - ควบคุมอาหารไว้


ควบคุมอาหารไว้

  • เมื่อไตทำงานได้น้อยลงจึงมีของเสียตกค้างในร่างกาย ความสมดุลของสารและ แร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายก็เปลี่ยนไป
  • ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไต จึงต้องปรับเปลี่ยนการกินอาหาร ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามระดับของโรคไต ค่าผลเลือด และโรคอื่นๆถ้ามี
  • หากเป็นผู้ที่ยังไม่ต้องรับการบำบัดทดแทนไต คืออยู่ในระยะที่ 1-4 ยังไม่ต้องฟอกเลือด
  • การควบคุมอาหารที่ถูกต้องจะช่วยชะลอการเสื่อมของไต และยืดระยะเวลาในในการฟอกเลือดออกไปได้
  • หากเป็นผู้ที่รับการบำบัดทดแทนไตแล้ว คืออยู่ในระยะที่ 5 หรือไตวายต้องฟอกเลือด
  • ไม่ว่าจะเป็นทางช่องท้องหรือด้วยเครื่องไตเทียม วิธีการควบคุมอาหารก็จะต่างจากผู้ที่ยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต

โดยมีหลักการเบื้องต้นที่ควรคำนึงถึงดังนี้

  • ได้พลังงานพอ ผู้ที่เป็นโรคไตทั้งระยะยังไม่ต้องบำบัดทดแทนไต และระยะที่ต้องฟอกเลือด จำเป็นต้องกินอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอทุกมื้อ
  • กินโปรตีนให้เหมาะ หากเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ให้ระวังปริมาณโปรตีนอย่าให้สูงเกิน แต่หากเป็นผู้รับการฟอกเลือดจะต้องกินเนื้อสัตว์ให้เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
  • ระวังโปแตสเซียม หากเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ต้องคุมไม่ให้ระดับโปแตสเซียมสูงเกิน หากเป็นผู้รับการฟอกเลือดทางช่องท้องต้องระวังไม่ให้ปริมาณโปแตสเซียมต่ำเกินไป เพราะโปแตสเซียมมักจะลดลงเมื่อฟอกไตทางช่องท้อง
  • โซเดียมดูให้ดี ผู้ที่เป็นโรคไตทั้งระยะก่อนฟอกเลือดและระยะที่ต้องฟอกเลือด ควรงดอาหารโซเดียมสูง เพราะมีผลต่อความดันโลหิตสูง
  • มีฟอสฟอรัสไหม ผู้เป็นโรคไตทั้งระยะก่อนฟอกไตและระยะที่ต้องฟอกไต ควรงดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง
  • ของเหลวเท่าไร ผู้ที่รับการรักษาทั้ง 2 ประเภท ต้องคอยควบคุมปริมาณของเหลวที่ร่างกายได้รับ
  • ใส่ใจปรุงอาหาร

หลักการง่ายๆนี้ สามารถจำเป็นแนวทางเบื้องต้นได้ ส่วนรายละเอียดแต่ละหัวข้อนั้นดูได้ในเรื่องต่อไป

ผู้ป่วยระยะที่ 1-4

  • อาหารกลุ่มพลังงาน ต้องได้รับพลังงานเพียงพอทุกมื้อ
  • อาหารกลุ่มโปรตีน ระวังอย่าให้โปรตีนสูงเกิน
  • อาหารกลุ่มโปแตสเซียม ระวังอย่างให้โปแตสเซียมสูงเกิน
  • อาหารกลุ่มโซเดียม ควรงดอาหารโซเดียมสูง
  • อาหารกลุ่มฟอสฟอรัส ควรงดอาหารฟอสฟอรัสสูง
  • อาหารกลุ่มของเหลว ควบคุมปริมาณของเหลวที่ร่างกายได้รับ

ผู้ป่วยระยะที่ 5 (ไตวาย) ล้างไตทางช่องท้อง และฟอกเลือดด้วยเครื่อง

  • อาหารกลุ่มพลังงาน ต้องได้พลังงานเพียงพอทุกมื้อ
  • อาหารกลุ่มโปรตีน ต้องกินโปรตีนให้มากขึ้น
  • อาหารกลุ่มโปแตสเซียม ที่ล้างไตทางช่องท้องให้ควบคุมโปแตสเซียมให้พอดี ส่วนผู้ป่วยที่ฟอก เลือดด้วยเครื่อง ระวังอย่าให้โปแตสเซียมต่ำไป
  • อาหารกลุ่มโซเดียม ควรงดอาหารโซเดียมสูงเช่นเดียวกัน
  • อาหารกลุ่มฟอสฟอรัส ควรงดอาหารฟอสฟอรัสสูง
  • อาหารกลุ่มของเหลว ต้องควบคุมปริมาณของเหลวที่ร่างกายได้รับ

ภาพประกอบบทเรียน



คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคไต สะสมครบ 21 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคไต จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคไต ความรู้พื้นฐาน รู้จักไต รู้จักโรคไต สาเหตุของโรคไต อาการของโรคไต ความจริงจากเพื่อน แนวทางการรักษาไต ไตวาย ทำอย่างไร? ไตวาย เป็นอย่างไร สิทธิการรักษา เปรียบเทียบ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กับ การล้างไตช่องท้อง อาหารการกิน ควบคุมอาหารไว้ ได้พลังงานพอ กินโปรตีนให้เหมาะ ระวังโปแตสเซียม เลี่ยงอาหารโซเดียมสูง เคล็ดลับในการคุมโซเดียม ควบคุมฟอสฟอรัส ควบคุมของเหลวที่นำเข้าร่างกาย ใส่ใจปรุงอาหาร ออกกำลังกาย ท่าออกกำลังกาย ท่ายืดเหยียด ออกกำลังกายต้องระวังอะไรบ้าง? เรื่องจริงจากเพื่อน คุณธนพลธ์ ดอกแก้ว พ.อ. หญิง นภชา บุณยรักษ์ คุณสรนันท์ ภูมิอ่อน