NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด

โมดูลที่ 7 - ประสบการณ์จากเพื่อน

บทเรียนที่ 4 - การปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลหัวใจ เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์


โรคหัวใจของท่านประธาน

เมื่อเริ่มมีอาการ...เป็นอย่างไร

ตอบ: (พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์) เมื่อประมาณต้นไป 2546 ผมไอมากเลย ไอมากไปก็นึกว่าตัวเองเป็นหวัด ก็หายากิน ปรากฏว่ายาแก้ไอเอาไม่อยู่ ไม่หาย หายใจไม่เต็มปอด ตอนนั้นอยู่ในพื้นราบ มีวันหนึ่งไปทำงานต้องเดิน ขึ้นไปบนภูเขา พอเดินขึ้นไปรู้สึกเหนื่อยมาก ต้องนั่งหอบเลย นั่งหายใจสักพักหนึ่งก็ดีขึ้น ก็กลับมาที่ดอนเมือง ไปให้หมอตรวจดู หมอก็บอกว่า เป็นโรคหัวใจ ลิ้นหัวใจรั่ว อาการก็เหนื่อยง่าย เหนื่อยมาก หายใจไม่เต็มปอดและไอ ที่รู้ว่าตัวว่าเป็นโรคหัวใจครับ

ตอนนั้นรักษาอย่างไร

ตอบ: บ้านผมอยู่ใกล้สถาบันโรคทรวงอก ก็เลยมาที่สถาบันโรคทรวงอกครับ พบหมออายุรกรรม หมอบอกว่าลิ้นหัวใจรั่ว ที่ไอก็ให้ยาขับปัสสาวะก็หายไอ ต่อมาก็มา Echo ก็ดูว่าเป็นลิ้นหัวใจรั่ว แล้วก็ฉีดสี ถึงได้รู้ว่ามีเส้นเลือดตีบ 90% อีก 1 เส้น ผ่าตัดก็คือต้องเปิดหน้าอก พอเปิดหน้าอกรักษา ก็ซ่อมลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจที่รั่วก็ซ่อมไปแล้วก็บายพาสหนึ่งเส้น เอาเส้นเลือดแดงที่หน้าอกไปต่อบายพาส

ดูแลตัวเองหลังจากผ่าตัดอย่างไร

ตอบ:

  • ต้องออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่ออาทิตย์ ผมเดินสายพาน 30 นาที ปั่นจักรยาน 30 นาที แล้วก็เล่นเวทนิดหน่อย พอให้กล้ามเนื้อขยับขยาย เล่นพวกกายบริหารเบา ๆ ไม่ต้องหนักมาก
  • ควบคุมการรับประทานอาหาร หวาน มัน เค็ม สามอย่างนี้เป็นตัวก่อให้เกิดโรคหัวใจต่อเนื่องได้
  • การรับประทานยาตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดจริงๆ เพราะโรคหัวใจเริ่มจากเบาหวาน ความดัน การผ่าตัดเส้นเลือด ต้องกินยาละลายลิ่มเลือด เพื่อไม่ให้เลือดไปเกาะตรงที่เส้นเลือดที่ต่อใหม่ ที่บายพาสใหม่ ก็ต้องมีการรับประทานอาหาร ยา และออกกำลังกายที่ต้องปฏิบัติเคร่งครัด

พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนอย่างไร

ตอบ: ผมนี่เมื่อก่อนกินไขมันเนื้อสัตว์ กินผักน้อย ไขมันมาก กินมันมาก และก็ก๋วยเตี๋ยวต้องหวาน ต้องปรุงเยอะมาก และเค็ม น้ำปลาเป็นเครื่องชูรสของอาหาร น้ำปลา พริกดอง เราตักกินกัน ไม่เคยรู้ว่า เป็นการทำให้ร่างกายเราป่วย พวกหวานทำให้เป็นเบาหวาน พอกินหวานเข้าไปเส้นเลือดจะเปราะ ไขมันก็ไปเกาะในเส้นเลือด โดยมีน้ำตาลเป็นตัวช่วย ไขมันไปเกาะอีกได้ง่ายขึ้น เค็มก็ดูดน้ำ ทำให้นำมาที่หัวใจ มาที่ปอดเยอะ เค็มก็ทำให้ไม่ดีต่อร่างกาย เพราะงั้นในสามอย่าง ถ้างดได้สมควรงด กินก๋วยเตี๋ยวอย่าไปปรุงรสเลย เพราะในน้ำก๋วยเตี๋ยวเค็มอยู่แล้ว หวานก็หาช้อนชาต่อวัน ก็ลดลงไป กาแฟก็อย่าไปใส่น้ำตาลที่ว่าใส่สองก้อนก็เป็นกาแฟดำธรรมดา หวานมันเค็ม น้ำปลาก็งดไปเลย ทานแป้งให้ลดลง เมื่อก่อนข้าวพูน เปลี่ยนให้เลหือ 1/4 ของจาน โปรตีน เนื้อไขมัน ก็ลดลงไป เป็นปลา เป็นไข่ แล้วก็ผัก ผักเนี่ย พวกเราทั้งๆ ที่มีผักอยู่ในบ้านเยอะมากเลยนะ ผักข้างรั้วดีที่สุด ผักสลัดก็โอเคดีขึ้นมา เลือกเอาสิ่งที่ปลอดภัย รับประทานผักให้เยอะขึ้น



ยินดีด้วย คุณจบโมดูล 7: ประสบการณ์จากเพื่อน แล้ว โมดูลนี้เป็นโมดูลสุดท้ายของคอร์สนี้

กลับหน้าหลัก


คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคหัวใจและหลอดเลือด ความรู้พื้นฐาน รู้จักหัวใจ รู้จักโรคหัวใจ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ สัญญาณเตือนภัย สัญญานเตือนภัย หัวใจล้มเหลว สัญญานเตือน ภาวะหัวใจวาย แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น กินอาหาร ให้ดีต่อหัวใจ ไขมันในเลือด ชนิดต่างๆ ไขมันในอาหาร มีอะไรบ้าง? วิธีกินไขมัน ให้ปลอดภัย ออกกำลังกาย อยากออกกำลังกาย เริ่มต้นยังไงดี? วิธีการเดิน เพื่อสุขภาพ ดูแลอารมณ์ วิธีหายใจด้วยท้อง ผ่อนคลายความเครียด ประสบการณ์จากเพื่อน สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว เรื่องเล่าจากคุณฉมาวงส์ สุรยจันทร์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจากคุณสภาวดี เชื้อสิงโต การปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลหัวใจ เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์