NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด

โมดูลที่ 7 - ประสบการณ์จากเพื่อน

บทเรียนที่ 1 - สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว เรื่องเล่าจากคุณฉมาวงส์ สุรยจันทร์


มาฟังประสบการณ์ตรงจาก คุณฉมาวงศ์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่จะช่วยทำให้คุณเข้าใจว่า "สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว" เพราะสัญญาณเตือนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคอยสังเกต แม้ว่าคุณอาจเป็นคนที่ดูแลรักษาสุขภาพตนเองอยู่แล้วก็ตาม

ชื่อ ฉมาวงส์ สุรยจันทร์ ครับ (เล่าประสบการณ์เป็นโรคเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่คณะสถาปัตยฯ จุฬาฯ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมครับ

เริ่มเป็นโรคหัวใจตอนใหน?

ตอบ: ถ้าจะเล่าเรื่องว่า รู้ว่าตัวเองเป็นเมื่อไหร่ มันประมาณสองปีกว่าที่แล้วครับตอนนั้นอายุ 45 พอดี

ลักษณะการทำงาน จะต้องพานิสิตนักศึกษาออกไป เขาเรียกว่าฟิลด์ทริป เป็นวิชาฟิลด์ทริป พาไปเดินดูธรรมชาติ พาไปดูงานนอกสถานที่ซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงปิดเทอมเราไปกัน 7 วัน ซึ่งเวลาไปนอกสถานที่ต้องเดินเยออะมาก

วันหนึ่งจะเดินเป็นหลัก เรียกว่าใช้ร่างกายค่อนข้างจะเยอะ ช่วงที่เริ่มรู้ตัวเป็นประมาณวันที่ 5 ของการไปฟิลด์ทริป มีวันหนึ่งจะต้องเดินขึ้นเขา พอเริ่มขึ้นไปได้ครึ่งทาง เริ่มรู้สึกเหนื่อย เหนื่อยที่แบบไม่เคยเหนื่อยอย่างนั้นมาก่อน ก็เลยต้องหยุดพัก แต่พอเริ่มพักอาการก็ดีขึ้น ก็ไปต่อได้ แต่ขณะที่ไปต่อนั้น พักหนึ่งมันก็จะเหนื่อย แต่มัน เราเริ่มตะหงิดๆ ว่าทำไมมันเหนื่อยเร็วกว่าปกติ เพราะเราก็เพิ่งพักมา ก็ไม่เป็นไร พอพักมันก็ยังหายก็เลยคิดว่าเราคงเหนื่อยเพราะมันห้าวันมาแล้ว

วันที่หก เกือบจะสุดท้ายของการทัศนศึกษาแล้ว เราไปที่น้ำตกเจ็ดชั้น ชื่อก็บอกแล้วน้ำตกเจ็ดชั้น มันก็มีการที่ต้องเดินเยอะมาก ก็เดินบนที่ลาดชันด้วย เพราะว่ารถเข้าไปไม่ได้ จำได้ว่าไปถึงประมาณชั้นหนึ่ง ชั้นสองเท่านั้นเอง ไปได้แค่่สามร้อย สี่ร้อยเมตร ก็เริ่มรู้สึกเหนื่อย แน่นบริเวณนี้ บริเวณหน้าอกซ้ายและยิ่งเดินไปยิ่งเพิ่มความเจ็บโดยที่ไม่เคยเป็นอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต

อาการเป็นอย่าง? แล้วทำอย่างไร?

ตอบ: หลังจากส่งเพื่อนอาจารย์และนิสิตไปสอนแล้ว เราก็พยายามจะเดินกลับ แต่ในขณะที่หยุดและพยายามเดินกลับนั้น ความเจ็บมันไม่ได้ลดน้อยลงซักเท่าไหร่ พอเริ่มเดินมันก็ยังเริ่มเจ็บระยะทางประมาณ 300 เมตร ใช้เวลาเดิน 40 นาทีเห็นจะได้ เกินครึ่งชั่วโมง เราเดินแบบก้าวสั้น ๆ เดินไปหยุดไป จนไปนั่งเฉยๆ เลย อาการก็ดีขึ้นแต่ไม่หาย ก็เลยบอกเพื่อนว่าเด๋วรอ วันพรุ่งนี้เข้าเมือง ค่อยไปโรงพยาบาลใหญ่ๆ ในเมืองดีกว่า ก็สรุ วันนั้นคือ เรารอที่จะไปโรงพยาบาล ก็เลยฝืนไปส่งนิสิต จำชื่อที่เที่ยวไม่ได้ที่เขาจะต้องไปดูงาน เสร็จแล้วก็เลยให้รถไปส่งเราที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด

เมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วเป็นอย่างไร?

ตอบ: คุณหมอพยาบาลมาซักไซ้วินิจฉัย แล้วก็ สันนิษฐานว่าอย่างนี้แหละเหมือนจะเป็นอาการหัวใจขาดเลือด หรือเส้นหลอดเลือดตีบ ก็ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วก็ฉีดยาเหมือนช่วยคลายเส้นเลือด หรือคลายการบีบรัดอะไรสักอย่างนะครับ จำไม่ได้แน่นอน ประเมินแล้วว่าอาการมันค่อนข้างหนัก เป็นแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ประกอบกับข้อมูลของเพื่อน ที่มีคนใกลิชิดที่เคยเป็น ผมก็เลยคิดว่าเหตุการณ์นี้รอไม่ได้

ก็เลยขอตัดสินใจกลับเข้ามารักษตัวในกรุงเทพ ทางโรงพยาบาลประจำจังหวัดก็เลยจัดรถพยาบาลพร้อมกับมีคุณหมอมาด้วย เนื่องจากมีเหตุฉุกเฉินจะได้ช่วยอย่างทันท่วงที ส่งตัวมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาถึงปุ๊ปก็รักษาเลย

วิธีรักษาเป็นอย่างไร?

ตอบ: วิธีรักษาก็คือ คาดว่าจะเป็นหลอดเลือดตีบ ก็ต้องฉีดสีดูเพื่อจะได้รู้ว่ามันตีบจริงหรือเปล่า ปรากฎว่าจริง ก็เลยใสาขดลวดเพื่อจะขยายเส้นเลือดตรงนั้น ก็ทำเร็วมากครับ

เบ็ดเสร็จประมาณเข้าห้องผ่าตัดแล้วออกมา ประมาณ 40 นาที จากหน้าไม่มีสีก็กลายเป็นหน้าใส เลือดลมไหลเวียนดี อาการที่แน่น ที่จุก ที่เจ็บ ก็ไม่มีอีกเลยหายเป็นปลิดทิ้ง

การดูแลตัวเองหลักจากเหตุการณ์

ตอบ: จริงๆ จะบอกว่าค่อนข้างสนใจเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพอยู่แล้ว ก็เลยไม่ได้ใช้ชีวิตต่างจากเดิมมากนัก คุณหมอเขาบอกว่า หนึ่งในสาเหตุที่มันเกี่ยวข้องกับเราฝนชีวิตประจำวัน มันก็ไม่พ้นเรื่องอาหาร ซักเป็นปัจจัยหลักเลยเหมอืนกัน เพราะเรากินวันหนึ่ง 3 มื้อ นอกนั้นก็พวก ควบคุมอารมณ์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ โดยส่วนตัวค่อนข้างจะดูแลตัวเองอยู่แล้ว

ก็เลยไปมุ่งเน้นเรื่องอาหาร ไม่กินเนื้อวัว พอรู้ว่าเป็นโรคหัวใจก็เลยขยายผลมานิดหนึ่ง เช่น พยายามเลี่ยงแล้วกัน ไม่ถึงกับลดหรืองดเลย ทานเนื้อหมูน้อยลง ถ้าเป็นไปได้ก็พยายามทานเนื้อขาวครับ ที่เป็นเนื้อปลา เนื้อไก่ กินผัก อะไรประเภทนี้ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็กินหมูบ้าง หลักๆ ที่คิดว่าปรับตัวเยอะที่สุดก็จะเป็นเรื่องของอาหาร อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องพักผ่อน เพราะเดินเป็นคนชอบนอนดึก คิดว่าอาจจะพักผ่อนน้อย ก็พยายามที่จะระมัดระวัง ที่จะไม่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เพราะปกติชอบนอนดึก ยันเที่ยงคืน บางทีเลยเที่ยงคืนแล้วตอนเช้าต้องตื่นมาส่งลูก ก็จะพยายามไม่เกินเที่ยงคืนเพื่อที่จะได้อย่างน้อยสุด 6 ชั่วโมง

เกิดอาการครั้งที่ 2

ตอบ: มีครั้งแรกแล้วก็มีครั้งที่ 2 ซึ่งเราก็ไม่ได้คาดหวังว่ามันจะมาเร็วนะครับ หลังจากรักษาครั้งแรกเสร็จแล้ว อีกราวๆ ปีครึ่ง ปีเจ็ดเดือนเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งที่ 2 อาการน้อยกว่าอาการมันค่อย ๆ มา เริ่มรู้สึกครั้งแรกตอนไปเที่ยวฮ่องกง มันต้องเดินขึ้นเขาและเดินเยอะ ไป 7 วัน อาการมาออกวันที่ 6 ซึ่งตอนนั้นไม่มั่นใจว่าจะเกี่ยวกับหัวใจหรือเปล่า คิดว่าเหนื่อย กลับมาเมืองไทย 2-3 วันก็มาทำงานปกติ

ช่วงแรกเข้าใจว่าถือของหนักเพราะจะเดินประมาณ 1 กิโลเมตร เดินกลับที่พักจากที่ทำงานไปได้ซักครึ่งทางเริ่อมเหนื่อย เหนื่อยขนาดที่ว่าต้องหยุดพัก ตอนแรกคิดว่าหนักก็หยุดแป๊บหนึ่ง ก็ดีขึ้นเดินต่อไปจนสุด พอถึงที่หมายแล้วก็ยังเหนื่อย พักสักระยะหนึ่งก็หาย วันถัดไปก็ลองสังเกต ลองไม่ถือของหนักก็ยังเป็นอีกเหมือนเดิม พอเดินเกืน 200 เมตร เริ่มเหนื่อย สัญญาณบอกเหตุที่ 2 คือเวลาขึ้นบันใดปกติลืมของเราวิ่งขึ้นวิ่งลง วันหนึ่งหลายรอบได้ ก็ไม่เป็นไร แต่นี่ถ้าต่อเนื่องจากชั้นล่างขึ้นไปชั้น 3 เหนื่อยมาก แต่พักสักระยะก้หาย เฝ้าดูซัก 2-3 วัน คิดว่าผิดปกติแน่ ถึงแม้ว่าอาการจะดีกว่าครั้งแรก

การรักษาครั้งที่ 2

ตอบ:หลังจากที่เราคอนเฟิร์มตัวเอง อีก 2 วันแล้วก็ไปพบคุณหมอ คุณหมอก็ให้เดินสายพาน พอเดินสายพาน ผลที่ออกมาคุณหมอบอกว่า คิดว่าใช่ คิดว่าตีบอีก แต่มันอาจน้อยกว่าเดิมเพราะว่าอาการมันพักแป๊บหนึ่งแล้วก็หาย ก็เลย พอเดินสายพานแล้วรู้ผลว่าน่าจะใช่ คุณหมอก็เลยนัดว่าก็ต้องฉีดสีเพื่อจะดูผลว่ามันตีบแค่ไหน แล้วก็ถ้าตีบก็รักษาเลย พอฉีดสีปุ๊ปผลออกมาก็รู้ว่าเส้นเลือดตีบครับ แต่ที่ประหลาดใจก็คือตีบเส้นเดิมแต่คนละจุด ซึ่งคุณหมอใส่ขดลวดขยาย เช่นเดิมเหมือนครั้งแรก

การดูแลตัวเองหลังจากเหตุการณ์ครั้งที่ 2

ตอบ: พอรักษาแล้วมันไม่ได้แปลว่าหายขาด แปลว่าเราต้องดูแลตัวเองให้ดีมาก ๆ เพราะตัวเองไม่คาดคิดเลยว่า แค่ปีครึ่งจากที่รักษามาแล้วมันจะกลับมาเป็นอีก ฉะนั้นก็ต้องใส่ใจทุกมิติ อย่างที่ผมบอกว่า ผมค่อนข้างจะเน้นหนักไปทางเรื่องอาหาร ตั้งใจไว้ว่าต้องเพิ่มวันออกกำลังกาย เพิ่มความถี่ เพิ่มระยะเวลานอนให้มันได้เยอะขึ้น เช่น จาก 6 ชั่วโมง เป็น 8 ชั่วโมง คือเรียกว่า

พยายามตัดความเสี่ยงทั้งหมด เพราะว่าเรามีความเสี่ยงแล้ว เรารู้ตัวอยู่แล้วว่ามีโอกาส ฉะนั้นเราต้องตัดโอกาสที่มันจะเกิดให้น้อยที่สุด น้อยมากเท่าที่จะเป็นไปได้

คำถาม: ครอบครัวช่วยเหลืออย่างไร มีวิธีการจัดการอารมณ์อย่างไร

ตอบ: ครอบครัวก็ช่วย เช่น อย่างลูก ๆ แล้วก็ภรรยาก็จะรู้ อย่างสมัยก่อนที่เป็นงานใช้แรงงานจะเป็นเราเป็นหลักเลย เพราะเป็นผู้ชายคนเดียวในครอบครัวนะครับ ลูกสาวสองคนก็เริ่มโตขึ้น อะไรที่ช่วยหยิบจับช่วยยกอะไรได้เขาก็จะอาสา หรือว่าไม่อิดออดในการช่วยเหลือ หรือบางอย่างที่ต้องใช้แรงงานผู้ชายก็ต้องหาคนอื่นมาช่วย เพราะไม่งั้น ด้วยนิสัยที่เรียนทางด้านสถาปัตย์ ถ้าอะไรทำได้ก็มักจะชอบทำเอง บางทีก็ต้องพยายามเลี่ยง บางทีจะตอกตะปูสักตัวหนึ่งหรือไข ขันนู่นขันนี่ซ่อมนู่นซ่อมนี่ บางทีมันพลาดนิดนึง ล่าสุดเกิดแผลที่นิ้ว ทีนี้ด้วยความที่คุณหมอให้ยา ว่ายาจะทำให้เลือดไม่ข้นพอเลือดไม่ข้น เลือดมันจะแข็งตัวได้ช้า มันจะหยุดยาก มีครั้งหนึ่งที่ตอกตะปูแล้วพลาดไปโดนนิ้วเป็นแผล เหตุเกิดเมื่อสิบโมง ห้าโมงเย็นเลือดยังไม่หยุดไหล ก็เลยอันนั้นก็เป็นเคสตอกย้ำที่ทำให้ทางบ้านคนรอบข้างเห็นว่า ไม่ว่าจะงานเล็กงานน้อยอะไร

ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงนะอย่าไปทำ อาจจะเป็นว่าที่บ้านหรือครอบครัวเราเป็นประเภทอารมณ์ดี คือผมก็เรียนคณะสถาปัตย์บางคนอาจจะทราบบ้าง ก็ชอบเล่นมุข อำกันเล่น อะไรกันตลอด บางทีขนาดเราเป็นโรคหัวใจแล้ว เขาก็จะมีวิธีการที่จะไม่ให้เครียด คิดเป็นเรื่องตลก คิดเป็นเรื่องขำ ๆ เป็นอะไรไป ถ้าเกิดบางทีเรากังวล ทุกครั้งเลยพยายามบอกไม่เป็นไรนะ เล็กน้อย พยายามเบี่ยงเบนไปในแนวตลก ก็ทำให้เราสบายใจ

อยากจะบอกอะไรถึงเพื่อน ๆ

ตอบ: คนที่ไม่เป็นเนี่ย ผมก็ได้ความรู้ใหม่ว่า สถิติหรืออะไรที่เราเคยรู้ มันไม่ได้เป็นจริงเสมอไป สมัยก่อนก็เคยคุยกับคุณหมอว่า คนที่เป็นมักจะเป็น 45 และ 50 สมัยนี้อายุจะน้อยลง เช่น 40 หรือ 30 ปลาย ๆ ก็เริ่มเจอได้เยอะขึ้น หรืออาการต่าง ๆ ที่เราคิดว่าใช่หรือไม่ใช่ ถ้าเรามีสัญญาณบอกเหตุ เราอย่าชะล่าใจ เพราะอาจจะไม่ได้โชคดีเหมือนผม ที่ว่ารอมาได้หลาย ๆ วัน หลายกรณีที่ศึกษา คือมันเร็วมาก ฉะนั้นถ้ามีอาการอย่าชะล่าใจ ก็คือต้องรีบหาคุณหมอให้เร็วที่สุด แล้วก็สภาวะแวดล้อมทุกวันนี้มันค่อนข้างแย่ เราก็ต้องดูฉลตัวเองให้เต็มที่ อาหารก็ต้องกินให้ดี อารมณ์ก็ต้องควบคุมให้ดี รวมถึงออกกำลังกายหรือว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่มันสุ่มเสี่ยง ต้องดูแลให้ครบทุกมิติ

ถ้าเจ็บใจ อย่าปล่อยวาง

ตอบ: ที่เขียนบันทึกก็ บางทีเราอยากให้คนฉุกคิด หรือว่าเก็บไว้เป็นประโยคทองหรือจำขึ้นใจ ก็เลยบอกว่า ถ้าเจ็บใจ หมายถึงเจ็บหัวใจ เราอย่าปล่อยวางหรือเราอย่าเฉยนะ คือเราต้องรีบปรึกษาหาผู้รู้ ซึ่งที่น่าจะให้คำตอบที่ดีที่สุดน่าจะเป็นคุณหมอ ไม่ใช่ไม่เป็นไรหรอก เพราะว่า พอช่าวงที่เป็นจะมีคนมาให้เล่าเยอะแยะมากเลยว่า หลายเคส คนที่อาจจะไม่ได้โชคดีอย่างผม คือไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงทีและอาจต้องสูญเสียชีวิตไป เพราะว่าเขาคิดว่าไม่เป็นไรหรอก รอก่อน เดี๋ยว เดี๋ยวก่อน คือไม่อยากให้เกิดคำว่า "เดี๋ยว" เพราะว่าคุณอาจจะไม่โชคดีอย่างผม เราจะเป็นอะไรจะน้อยจะมาก หาหมอเถอะครับ ให้หมอเป็นคนวินิจฉัย แล้วอะไรที่มันไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา มันก็ต้องพิสูจน์ อย่าให้เราคิดไปเอง แล้วถ้าไม่โชคดี เราคิดผิด ก็อาจจะไม่มีสิทธิ์ที่จะกลับมาคิดใหม่




คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคหัวใจและหลอดเลือด ความรู้พื้นฐาน รู้จักหัวใจ รู้จักโรคหัวใจ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ สัญญาณเตือนภัย สัญญานเตือนภัย หัวใจล้มเหลว สัญญานเตือน ภาวะหัวใจวาย แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น กินอาหาร ให้ดีต่อหัวใจ ไขมันในเลือด ชนิดต่างๆ ไขมันในอาหาร มีอะไรบ้าง? วิธีกินไขมัน ให้ปลอดภัย ออกกำลังกาย อยากออกกำลังกาย เริ่มต้นยังไงดี? วิธีการเดิน เพื่อสุขภาพ ดูแลอารมณ์ วิธีหายใจด้วยท้อง ผ่อนคลายความเครียด ประสบการณ์จากเพื่อน สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว เรื่องเล่าจากคุณฉมาวงส์ สุรยจันทร์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจากคุณสภาวดี เชื้อสิงโต การปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลหัวใจ เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์