NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด

โมดูลที่ 3 - สัญญาณเตือนภัย

บทเรียนที่ 2 - สัญญานเตือน ภาวะหัวใจวาย


สัญญาณเตือน เมื่อหัวใจวาย

โดยทั่วไปที่เราเห็นกันในละคร หัวใจวายมักเกิดขึ้นเฉียบพลัน รุนแรง ซึ่งพอเห็นแล้วก็แทบไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นภาวะหัวใจวาย แต่หลายๆ ครั้งที่อาการหัวใจวายนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่เป็นก็มีความเจ็บปวด หรือรู้สึกไม่สบายในระดับที่ยังทนได้และคิดว่าคงไม่เป็นไรมั้ง จึงทำให้บางครั้งไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

หัวใจวายเกิดจากการที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจเพราะหลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลัน เลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ จนกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตาย

ดังนั้นหากมีอาการดังที่จะบอกต่อไปนี้ แม้ว่าจะมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือหัวใจเต้นผิดจากเดิมเล็กน้อยก็ตามถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นหรือไม่ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นแล้วรีบขอความช่วยเหลือและหาหมอทันที อย่ารอ ไม่ต้องห่วงว่าจะดูตื่นตูมทำให้คนแตกตื่น เพราะเวลาแม้วินาทีก็มีค่าสำหรับคนหัวใจวาย

  • รู้สึกเจ็บหน้าอก จะรู้สึกเจ็บหน้าอก รู้สึกหนักๆ เหมือนมีอะไรมากดทับบริเวณกลางหน้าอกและคงอยู่ 2-3 นาที หรือบางทีอาจจะหายไปแล้วกลับมาเจ็บใหม่
  • รู้สึกเจ็บแน่นช่วงบนของร่างกาย ซึ่งรวมได้ถึงแขน คอ ขากรรไกร หลังและท้อง
  • หายใจไม่ค่อยออก หายใจถี่ แม้ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการแน่นหน้าอกก็ตาม
  • เหงื่อออก ตัวเย็น หน้ามืด วิงเวียน คลื่นไส้ ชีพจรเต้นเร็ว
  • ในผู้ชายและผู้หญิงจะมีอาการแน่นหน้าอกหรือไม่สบายตัวเหมือนกัน แต่อาการที่ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายคือ อาการเหนื่อย หายใจไม่ออก หน้ามืดวิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน เจ็บหลังและขากรรไกร

ถ้ามีอาการดังกล่าว แนะนำดังนี้

  • นั่งพักแล้วไม่ดีขึ้นใน 5-10 นาที
  • ควรจะไปทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจวายหรือไม่
  • ระหว่างการช่วยเหลือหากยังรู้สึกตัวดีให้เคี้ยวแอสไพรีน 325 มิลลิกรัม กลืนน้ำด้วย
  • หากมีอาการจะต้องได้รับความช่วยเหลือและตรวจคลื่นหัวใจโดยเร็วที่สุด
  • ซึ่งการช่วยเหลือจะเริ่มตั้งแต่เมื่อผู้ช่วยเหลือถึงตัวผู้ป่วยทันที
  • ดังนั้นหากทำได้ให้เรียกรถพยาบาลเพราะได้รับการรักษาระหว่างเดินทางด้วย

การรักษา

  • รักษาด้วยการให้ออกซิเจน แอสไพรินและไนโตรกลีเซอรีนชนิดอมใต้ลิ้น
  • จากนั้นจะต้องพิจารณาถึงการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบให้กว้างขึ้น เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือไม่เกิน 6 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ
  • วิธีการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจคือการขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบให้กว้างขึ้นซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนที่เคยได้ยินว่า "ทำบอลลูน" และการผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจที่เคยได้ยินกันว่า "ทำบายพาส"
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือการทำบอลลูนนั้นหมอจะขยายหลอดเลือดโดยใส่สวนเข้าไปที่บริเวณที่ขาหนีบหรือแขนเพื่อให้เข้าไปยังหลอดเลือดหัวใจแล้วบอลลูนจะเข้าไปขยายจุดตีบนั้น ทำให้ลิ่มเลือดแตกออกจากนั้นจึกใช้การดูดลิ่มเลือดนั้นออกไป เลือดจึงไหลผ่านจุดที่ตีบนั้นได้
  • บางครั้งหมอจะใส่ขดลวดค้ำยันไว้ด้วยเพื่อไม่ให้หลอดเลือดทรุดตัวกลับลงมา ส่วนการผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือการผ่าตัดบายพาสนั้นคือ การนำหลอดเลือดที่ดีจากส่วนอื่นในร่างกายมาเชื่อมต่อแทนหลอดเลือดที่อุดตันนั้นเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

อย่าลืมว่าถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นหรือไม่ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นแล้วรีบขอความช่วยเหลือและหาหมอทันทีอย่ารอ เพราะต้องได้รับความช่วยเหลือให้เร็วที่สุด

ภาพประกอบบทเรียน



คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคหัวใจและหลอดเลือด ความรู้พื้นฐาน รู้จักหัวใจ รู้จักโรคหัวใจ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ สัญญาณเตือนภัย สัญญานเตือนภัย หัวใจล้มเหลว สัญญานเตือน ภาวะหัวใจวาย แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น กินอาหาร ให้ดีต่อหัวใจ ไขมันในเลือด ชนิดต่างๆ ไขมันในอาหาร มีอะไรบ้าง? วิธีกินไขมัน ให้ปลอดภัย ออกกำลังกาย อยากออกกำลังกาย เริ่มต้นยังไงดี? วิธีการเดิน เพื่อสุขภาพ ดูแลอารมณ์ วิธีหายใจด้วยท้อง ผ่อนคลายความเครียด ประสบการณ์จากเพื่อน สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว เรื่องเล่าจากคุณฉมาวงส์ สุรยจันทร์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจากคุณสภาวดี เชื้อสิงโต การปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลหัวใจ เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์