NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด

โมดูลที่ 2 - ปัญหาหัวใจ

บทเรียนที่ 2 - หลอดเลือดหัวใจ


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

เมื่อพูดถึงโรคหัวใจทั่วๆ ไป เราจึกมักหมายถึงโรคหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน จนหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เรียกว่า "หลอดเลือดหัวใจตีบ" ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวใจมีปัญหา จากสถิติพบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมักเกิดกับผู้ชายที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิง อายุ 55 ปีขึ้นไป แต่ทุกวันนี้ผู้ป่วยโรคหัวใจตีบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและอายุของผู้ป่วยก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนเมืองรุ่นใหม่ ดังนั้นเรามาดูปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจกันดีกว่า

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้

คือ

  • ประวัติครอบครัว หากมีบุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยคุณหมอเคยบอกว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือขาดเลือด หรือเคยได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หรือขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นเกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นตามวัย
  • เพศ ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้วมีโอกาสของโรคหลอดเลือดหัวใจใกล้เคียงกับผู้ชาย

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

เบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือด บุหรี่ อ้วนพีมีพุง แต่อย่างแรกที่ทำได้ คือ

อ้วนพี มีพุง หรือน้ำหนักและความอ้วน

การปล่อยให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การมีดัชนีมวลกายที่มากขึ้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อยากรู้ไหมว่า ตอนนี้เราอยู่ในภาวะอ้วนเกินไปหรือเปล่า

ลองมาดูวิธีคิดกัน

วิธีแรกใช้ดรรชนีมวลกาย หรือ BMI (สมส่วน ผอม อ้วน)

เป็นมาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอม ในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งคำนวนจากการใช้นำหนักเป็นกิโลกรัมแล้วหารด้วยส่วนสูงที่วัดเป็นเมตรยกกำลัง 2 ฟังดูเหมือนยาก แต่จริงๆแล้วง่ายมากเลยนะ สูตรนี้ใช้ได้ทั้งหญิงและชายด้วย ลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่า

ถ้าคุณสมนึกหนัก 60 กิโลกรัม และ สูง 160 เซ็นติเมตร ดัชนีมวลกายจะเท่ากับเท่าไหร่?

  • น้ำหนักตัวเป็นกำโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ก็คือ ใช้ 60 ตั้ง หารด้วย 1.60 ยกกำลัง 2 ดังนั้นดัชนีมวลกายจะเท่ากับ 23.43
  • แล้วนำค่าที่ได้มาเทียบในตารางเกณฑ์ดัชนีมวลกายของคนเอเชีย ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23.43 จนถึง 24.9 กิโกลกรัมต่อตารางเมตร ถือว่าน้ำหนักเกิน ถ้าน้ำหนักตั้งแต่ 25 ขึ้นไป ถือว่าอ้วน
  • ถ้าอยากให้ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 23.43 เช่นเป็น 23 แทนน้ำหนักที่เท่ากับดัชนีมวลกาย 23 คือ 23 คูณ 1.6 ยกกำลัง 2 เท่ากับ 58.8 กิโลกรัม ตอนนี้หนัก 60 กิโลกรัม แสดงว่าน้ำหนักของคุณสมนึกเกิน 1.2 กิโลกรัม เมื่อรู้แล้วคุณสมนึกก็จะได้ตั้งเป้าหมายว่า ควรจะลดน้ำหนักลงไปอีก 1.2 กิโลกรัมนะคะ

วิธีที่ 2 ดูจากรอบเอว

มีสูตรง่ายๆ ให้เอาส่วนสูงตั้งแล้วหาร 2 จะได้รอบเอวที่เหมาะสม ไม่ควรเกินนี้ เช่น ถ้าสูง 160 เซ็นติเมตร เอา 160 หาร 2 จะได้ 80 เซ็นติเมตร หรือเท่ากับ 32 นิ้วนั่นเองถ้าเกินกว่านี้ถือว่าเริ่มอ้วนแล้ว

ปัจจัยเสี่ยงที่เราเปลี่ยนแปลงได้ก็ยังมีอีกดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตสูง

มีเกณฑ์วินิจฉัยคือ มีค่าตั้งแต่ 140/190 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปแล้วพบว่า การรับประทานเกลือโซเดียมมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความดันโลหิตของเราสูงเพิ่มมากขึ้นด้วย

  • ความเครียด

ปัจจัยทางด้านความเครียด เช่นสภาพจิตใจที่เซ็ง ซึมเศร้า ฟุ้งซ่าน มีความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานานติดต่อกันและจัดการกับสาเหตุความเครียดไม่ได้ ภาวะเก็บกดรู้สึกไม่เป็นมิตร ขาดการเชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคมและครอบครัว ความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยทางด้านการเงินและสถานะทางสังคม

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน

ระดับในตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมและทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพและถูกทำลายก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา

  • ไม่ออกกำลังกาย

พบว่าการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ หรือมีกิจกรรมนั่งๆนอนๆ จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า

  • กินผักและผลไม้ในแต่ละวันน้อยเกินไป

ปัจจุบันนี้คนเรารับประทานอาหารที่มีรสหวาน อาหารรสเค็ม อาหารที่มีเกลือโซเดียมในอาหารมากเกิน อาหารที่มีไขมันและแคลลอรีสูง แต่รับประทานผักและผลไม้น้อย ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

  • สูบบุหรี่

ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ผู้ที่สูบยาสูบแบบไม่มีควัน เช่น ยาฉุน ยาเส้น รวมถึงผู้ที่เคยสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นมาเวลานานแล้วเพิ่งหยุดสูบบุหรี่ไปได้ไม่นาน พบว่าผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2.4 เท่า เพราะสารต่างๆ ในบุหรี่ รวมถึงควันบุหรี่ ส่งเสริมให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบ หรืออุดตันเฉียบพลันได้ในทันที

จากที่กล่าวมานี้ เรามีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจที่ว่ามาบ้างไหม หากมีความเสี่ยงแม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

ภาพประกอบบทเรียน


ยินดีด้วย คุณจบโมดูล 2: ปัญหาหัวใจ แล้ว

โมดูลต่อไป >
สัญญาณเตือนภัย


คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคหัวใจและหลอดเลือด ความรู้พื้นฐาน รู้จักหัวใจ รู้จักโรคหัวใจ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ สัญญาณเตือนภัย สัญญานเตือนภัย หัวใจล้มเหลว สัญญานเตือน ภาวะหัวใจวาย แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น กินอาหาร ให้ดีต่อหัวใจ ไขมันในเลือด ชนิดต่างๆ ไขมันในอาหาร มีอะไรบ้าง? วิธีกินไขมัน ให้ปลอดภัย ออกกำลังกาย อยากออกกำลังกาย เริ่มต้นยังไงดี? วิธีการเดิน เพื่อสุขภาพ ดูแลอารมณ์ วิธีหายใจด้วยท้อง ผ่อนคลายความเครียด ประสบการณ์จากเพื่อน สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว เรื่องเล่าจากคุณฉมาวงส์ สุรยจันทร์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจากคุณสภาวดี เชื้อสิงโต การปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลหัวใจ เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์