คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด
โมดูลที่ 7 - ประสบการณ์จากเพื่อน
บทเรียนที่ 2 - ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์
“ผม พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์ เป็นประธานชมรมเครือข่ายโรคหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก”
ที่มาที่ไปของชมรม
ตอบ: ชมรมนี้เกิดจาก สปสช. ได้ตั้งมาว่าจะต้องมีเครือข่ายโรคเรื้อรังที่รักษาลำบากทั้งหมด 13 โรค โรคหัวใจเป็นโรคหนึ่งใน 13 โรค นั้นต้องตั้งชมรมขึ้น ในชมรมนี้ สปสช. ก็ประสานทางสถาบันโรคทรวงอกกับคุณหมอประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี สมัยนั้น ว่าจะมีกลุ่มคนป่วยและกลุ่มผู้สนับสนุน คือมีหมอพยาบาลรวมตัวกันว่าจะดูแลชมรมนี้อย่างไร ธันวาคม 2550 คือตั้งชมรม ในวันที่ 23 มกราคม 2551 ก็ได้เชิญคณะคนป่วยที่บอกว่าอยู่ที่กายภาพ 30 คนและคนบริเวณใกล้เคียงอีก 30 คน มารวมมตัวกันประชุมในวันที่ 23 มกราคม 2551 และก็ให้คนป่วยและผู้ป่วยเลือกตั้งคณะกรรมการขึ้นมาว่าใครจะทำอะไร
ขณะนั้นพวกเรา 60 คน ก็มาเสนอึวามคิดนะครับ เนื่องจากพวกเราผ่าตัดโรคหัวใจมา ก็อยากจะรู้ว่าหลังผ่าตัดเราต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ก็เปิดประชุมเรื่องนี้ให้ ข้อที่สองอยากจะทำอะไรบ้าง ก็อยากออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
เมื่อก่อนเราออกที่กายภาพก็สามวัน พอเราออกมาแล้ว สองสามปี ก็ให้กลับบ้านเลย ไม่ได้มาออกแล้วเนื่องจากผู้ป่วยหมุนเวียนมา พอดีที่สถาบันโรคทรวงอกมีชมรมออกกำลังกาย เราก็มาออกกำลังกายที่นี่ ก็ได้มารวมตัวกันที่นี่อีกครั้ง อยากจะไปสอนคนป่วยที่จะได้คิวผ่าตัด เพราะว่าเราไม่รู้เรื่องเลยโรคหัวใจนี้ พอก่อนจะผ่าตัดเรายังไม่รู้เรื่องเลย เราได้ฟังข่าวมา ได้ยินว่าไม่ดีเลย ผ่าตัดอันตราย แต่พอเราผ่ามาแล้ว รู้ตัวเองว่าปลอดภัย ไม่เจ็บไม่ป่วยมาก แต่ละคนผ่าลิ้นหัวใจรั่ว เส้นเลือดตีบ หัวใจพริ้ว ก็เอามาสอนคนป่วย ที่ผ่าตัด ได้โอกาสเข้าไปสอน ได้รู้เรื่องการกินยา ออกกำลังกายที่ถูกต้อง ได้รู้เรื่องการรับประทานอาหาร มีการประชุมทุกสองเดือนครั้ง จึงเกิดชมรมนี้ขึ้นมา
ครั้งแรก 60 คนตอนหลังคนป่วยใหม่มา ที่เราไปสอนก็เข้ามาร่วมชมรม ตั้งแต่ปี 2551 ปัจจุบันตอนนี้มี 600 กว่าคน
จัดทีม...เตรียมรอลงพื้นที่!
ตอบ: พอเราประชุมกันมาเสร็จ ได้ความรู้การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดหัวใจอย่างไร ได้รู้ว่าโรคหัวใจมีอะไรบ้าง ได้รู้ว่าการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายจริง ๆว่าสมควรจะรับประทานอาหารอย่างไร ได้รู้การรับประทานยา ได้รักจักวิธีการออกกำลังกายได้ถูกต้อง ก็มารวมตัวกันเป็น support group โดยมีคุณหมอที่สถาบันโรคทรวงอกมาอบรม แบบเน้นคณะกรรมการจริง ๆ ประมาณ 40 คน เพื่อไปสอนคนอื่นได้ พอเราได้ความรู้ เราก็ออกไปหน่วยที่มีสมาชิกเราเป็นตัวประสานงาน เราก็ออกไปอยู่ที่นั่น แล้วเราก็จัดคณะของเรา มีทั้งหมอ พยาบาล กายภาพ โภสนากร เภสัชกร
ลงพื้นที่แล้ว ทำอะไรบ้าง
ตอบ: เราก็ลงไปยังพื้นที่ ขณะที่ลงพื้นที่เนี่ย คนเราดูง่ายๆ เวลานั่งรอกันเนี่ย เราก็ตรวจวัดความเสี่ยง
เราก็เห็นละถ้าอ้วน น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ เราก็ใช้วิธีง่ายๆ ที่ถูกสอนมา
- เราก็ใช้เชือกปอ เชือกพลาสติกเส้นๆ วัดส่วนสูง แล้วก็พบครึ่งหนึ่ง
- แล้วมาวัดรอบเอว ส่วนมากจะไม่ถึง ถ้าไม่ถึง ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจง่าย
- หน้าครับหน้า หน้าคนธรรมดาจะไม่แดง แต่ถ้าคนเป็นความดันสูงหน้าจะแดง จะเห็นชัดเลยว่าหน้าแดง ตรงนี้มีความเสี่ยง ก็เชิญมาหาพยาบาลเลย ไม่ต้องผ่านขั้นตอน
- อาจจะชั่งน้ำหนัก วัดความดัน เอาผลมาให้พยาบาล แล้วก็จะลัดคิวให้ ไม่ต้องไปกายภาพ ไม่ต้องอะไรละ
- พยาบาลก็จะมีหูฟังฟัง ถ้าไม่ค่อยดีมาวัดความดันจะละเอียดกว่า
- ถ้าคุณหมอไปด้วย คุณหมอจัดการดูแล้วเป็นแน่ๆ คุณหมอก็จะเซ็นให้ถือบัตรนี้ไปโรงพยาบาลใหนก็ได้ เพราะว่ารู้แล้วว่าคุณหมอตรวจขั้นต้นไว้แล้ว ก็ไปส่งต่อ คราวที่แล้วผมไปอยู่ที่จังหวัดอยุธยา วัดใหญ่ชัยมงคล ผมไปตรวจก็อ้วน หน้าแดงแบบที่ว่าไว้
ตอนหลังถึงได้รู้ว่ารับประทานอาหารเค็ม ความดันสูง มีทั้งเบาหวาน ความดัน ก็ส่งต่อไปโรงพยาบาลอยุธยา มีลายเซ็นหมอบอกว่าเป็นความดัน จากอยุธยาก็ส่งต่อมาโรคทรวงอกต่อ ไปที่วัดมะนาวหวานที่นครศรีธรรมราช ภาคใต้อาหารเผ็ดเค็ม น้ำหนักมาก บวม หน้าแดง คุรหมอบอกเป็น แน่นอนโรคหัวใจ ไปตรวจวัดความเสี่ยงได้ ต้องเป็นแน่ ๆ เพราะการหายใจก็ไม่นิ่งเหมือนต้องสูดหายใจไว้ลึก เหมือนคนหอบ อย่างนั้นก็มีอาการ ก็นั่งดูได้เลย คนไหนเหนื่อยง่ายและเดิน จับเดินดูก็ได้ เดินนิดเดียวแล้วก็เหนื่อย เราสามารถตรวจด้วยสายตาได้ จากที่ได้รับความรู้มาว่าเคสแบบนี้ผิดสังเกต ตอนนี้ทางเหนือสุดไปแม่สาย ไปสุพรรณหลายครั้งเพราะอยู่ใกล้ ไปทางสระแก้ว ไปชุมพร ไปนครศรีธรรมราช แล้วก็จันทบุรี ชุมพร ก็เกือบทั่วประเทศ
คือคนไข้หายใจแน่นมาเลยอย่างนี้ นั่งก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ หายใจหอบมาอย่างนี้เลยคะ แล้วเหงื่อออกทั้งตัวเลย
คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]
สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน
กติกา
- ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
- คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
- คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่