NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด

โมดูลที่ 3 - สัญญาณเตือนภัย

บทเรียนที่ 3 - แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น


แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น

อาการหัวใจหยุดเต้นนั้น หัวใจหยุดเต้นทันทีเพราะการส่งกระแสไฟฟ้าหรือการนำไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนถึงหยุดเต้น ซึ่งอาจจะเกิดในคนที่เป็นโรคหัวใจมาก่อนหรือไม่มีประวัติก็ได้

แนวทางการช่วยเหลือ เมื่อหัวใจหยุดเต้น

  • ต้องกูชีพด้วยการกระตุ้นหรือช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า
  • หรือทำปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือที่รู้จักกันว่า CPR
  • การกู้ชีพหรือCPR ย่อมาจากคำว่า Cardio (หัวใจ) Pulmonary (ปอด) และ Resuscitation (ทำให้ฟื้นคืนชีพมา) คือการปฐมพยาบาลเพื่อให้หัวใจที่หยุดเต้นกลับมาเต้นอีกครั้งและมีเลือดไปเลี้ยงสมอง
  • ถ้าจะให้ได้ผลดี ต้องทำควบคู่กับการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติหรือเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า หรือที่เรียกว่าเครื่อง AED

การช่วยเหลือเบื้องต้นโดยการทำ CPR มีขั้นตอนดังนี้

  1. หากเห็นคนหมดสติ ก่อนจะเข้าไปช่วยเหลือ ให้ดูสิ่งแวดล้อมก่อนเข้าไปช่วยด้วยว่าปลอดภัยหรือไม่ มีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุต่างๆ หรือไม่

  2. หากพบว่าปลอดภัย เข้าไปช่วยได้ โดยประเมินดูว่าผู้ป่วยรู้สึกตัว หรือไม่รู้สึกตัว

  3. หากผู้ป่วยเหมือนจะไม่รู้สึกตัว ให้ลองปลุกและเรียกด้วยเสียงที่ดัง ตบไหล่ทั้งสองข้าง

  4. ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้เรียกผู้คนที่อยู่ใกล้ ๆ มาช่วย พร้อมโทรเรียกสายด่วน 1669 โดยให้มีคนทำการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ หรือ CPR ไปด้วย ในระหว่างที่อีกคนโทรเรียกสายด่วน เมื่อโทรเรียกแล้ว ให้แจ้งว่า ขอผู้ช่วยเหลือและบอกสถานที่เกิดเหตุ สภาพผู้ป่วยและเบอร์โทรติดต่อกลับ

  5. ช่วยเหลือฟื้นคืนชีพด้วยการกดหน้าอก จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายบริเวณราบและปลอดภัย วางส้นมือข้างที่ไม่ถนัดตรงกลางหน้าอกระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง วางมือข้างที่ถนัดทับลงบนที่วางในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว เหยียดนิ้วมือตรง จากนั้นเกี่ยวนิ้วมือทั้งสองข้างด้วยกัน เหยียดแขนตรง โน้มตัวตั้งฉากกับผู้บาดเจ็บ ทิ้งน้ำหนักลงบนแขนขนาดกดหน้าอกผู้บาดเจ็บ กดให้ลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือประมาณ 5 เซ็นติเมตร สำหรับผู้ใหญ่ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที

  6. หากมีเครื่อง AED ให้เปิดเครื่องและถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก

  7. ติดแผ่นนำไฟฟ้าบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวาและชายโครงด้านซ้ายและห้ามสัมผัสตัวผู้ป่วย

  8. ปฏิบัติตามเครื่อง AED แนะนำ คือ หากเครื่องสั่งให้ช็อคไฟฟ้าให้เตือนทุกคนถอยห่างและห้ามมาสัมผัสตัวผู้ป่วย โดยพูดว่าฉันถอยเพื่อเตือนตัวเอง คุณถอยเพื่อเตือนผู้ช่วยเหลือ ทุกคนถอยเพื่อเตือนคนอื่นๆ หลังจากนั้นกดปุ่มช็อค และการทำการกดหน้าอกหลังจากทำการช็อคทันที แต่หากเครื่องไม่สั่งช็อคให้ทำการกดหน้าอกต่อไป

  9. เมื่อหน่วยกู้ชีพมาถึง หน่วยกู้ชีพจะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดชีวิตได้มากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานคือการโทร 1669และการทำ CPR หรือการปั้มหัวใจที่ถูกต้อง

กรณีอยู่คนเดียวไม่มีคนอื่นช่วยจะต้องโทรเรียก 1669 ก่อน

แล้วจึงลงมือปั้มหัวใจการให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น

ภาพประกอบบทเรียน


ยินดีด้วย คุณจบโมดูล 3: สัญญาณเตือนภัย แล้ว

โมดูลต่อไป >
กินอาหาร ให้ดีต่อหัวใจ


คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคหัวใจและหลอดเลือด ความรู้พื้นฐาน รู้จักหัวใจ รู้จักโรคหัวใจ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ สัญญาณเตือนภัย สัญญานเตือนภัย หัวใจล้มเหลว สัญญานเตือน ภาวะหัวใจวาย แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น กินอาหาร ให้ดีต่อหัวใจ ไขมันในเลือด ชนิดต่างๆ ไขมันในอาหาร มีอะไรบ้าง? วิธีกินไขมัน ให้ปลอดภัย ออกกำลังกาย อยากออกกำลังกาย เริ่มต้นยังไงดี? วิธีการเดิน เพื่อสุขภาพ ดูแลอารมณ์ วิธีหายใจด้วยท้อง ผ่อนคลายความเครียด ประสบการณ์จากเพื่อน สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว เรื่องเล่าจากคุณฉมาวงส์ สุรยจันทร์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจากคุณสภาวดี เชื้อสิงโต การปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลหัวใจ เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์