NCDs School
Facebook หมอชาวบ้าน Youtube หมอชาวบ้าน

< กลับหน้าโมดูล

คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด

โมดูลที่ 3 - สัญญาณเตือนภัย

บทเรียนที่ 1 - สัญญานเตือนภัย หัวใจล้มเหลว


สัญญานเตือน เมื่อหัวใจล้มเหลว

  • เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบลงเพราะไขมันมาจับที่ผนังหลอดเลือด
  • ทำให้เลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจน้อยลงกล้ามเนื้อหัวใจจึงอ่อนแรง
  • เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอจึงปั้มเลือดได้ไม่พอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หัวใจจึงทำงานได้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จึงเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า หัวใจล้มเหลว ภาวะนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นและเรื้อรังเป็นเวลานาน

ถ้าคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการ มากกว่าหนึ่งอาการ ดังต่อไปนี้ ควรรีบหาหมอโดยเร็ว แม้ว่าจะไม่เคยถูกตรวจว่าเป็นโรคหัวใจเลยก็ตาม

1. หายใจไม่ออก

จะมีอาการหายใจไม่ค่อยออก ระหว่างทำกิจกรรมใดๆ หรือแม้ในขณะที่พักผ่อน อยู่เฉยๆ นอนหลับก็ตาม เวลานอนก็นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูงหรือต้องนอนในท่านั่ง จึงจะหายใจสะดวกขึ้น บางครั้งถึงกับตื่นกลางดึกและเมื่อตื่นนอนแล้วจะรู้สึกเหมือนไม่ได้พักผ่อน

2. ไอเรื้อรัง หรือไอขณะนอนราบ นอนแล้วไอ

3. บวมน้ำ เท้า ข้อเท้า มือ ท้องบวมและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งกิโลกรัมต่อวัน

4. เหนื่อย หายใจลำบากมากขึ้น

ที่เป็นเช่นนี้เพราะหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ ปั้มเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ได้ เกิดอาการน้ำท่วมปอด และเกิดอาการล้นของของเหลวในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้บวมน้ำขึ้นมาและเมื่อเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ

5. รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลียในระหว่างวัน ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ลำบาก

6. เบื่ออาหารและคลื่นไส้

ระบบการย่อยอาหารได้รับเลือดไม่เพียงพอทำให้การย่อยอาหารมีปัญหา ทำงานได้ไม่เต็มที่

7. รู้สึกสับสน คิดไม่ออก ความจำแย่ลง รู้สึกมึนงงสับสน

สัญญาณนี้คนรอบตัว หรือผู้ดูแลอาจสังเกตได้ก่อน

8.หัวใจจะเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ หรือเต้นผิดจังหวะ

เต้นผิดปกติจากเดิมเพราะหัวใจปั้มเลือดได้น้อย จึงต้องพยายามเต้นให้เร็วขึ้นเพื่อให้ปั้มเลือดได้เพียงพอ

การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

  • คุณหมอจะดูจากปัจจัยหลายๆอย่างประกอบกัน เช่น สาเหตุ ความรุนแรง เป็นมาระยะใหนแล้ว มีโรคอื่นๆ ด้วยหรือไม่
  • โดยเป้าหมายในการรักษาคือ เพื่อลดอาการน้อยลงและเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต
  • ซึ่งมีทั้งการใช้ยาเพื่อชะลอความเสื่อมของพยาธิสภาพหัวใจและยาขับปัสสาวะ และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ หรือใช้การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ ใช้เครื่องกระตุกหัวใจที่ทำให้หัวใจเต้นประสานกันมากขึ้นเสริมการทำงานของหัวใจและใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายหัวใจ

ดังนั้นในแต่ละวันจะต้องคอยตรวจสอบว่า เรามีอาการที่ว่ามาหรือไม่ (บวมน้ำ,ไอ,หายใจไม่ออก,เบื่ออาหาร,วิงเวียน,เหนื่อย,สับสน,หัวใจเต้นเร็ว) และหมั่นสังเกตคนใกล้ชิดรอบตัวด้วยอย่างที่บอกไว้แต่แรก หากมีอาการเหล่านั้นเกิดขึ้น โดยเฉพาะหากเป็นมากกว่าหนึ่งอย่าง บ่อยขึ้น ถี่ขึ้น ให้รีบไปหาหมอทันทีเลยนะ

ภาพประกอบบทเรียน



คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]

สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน

กติกา

  • ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
  • คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
  • คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่

สารบัญ

โรคหัวใจและหลอดเลือด ความรู้พื้นฐาน รู้จักหัวใจ รู้จักโรคหัวใจ ปัญหาหัวใจ ปัญหาหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ สัญญาณเตือนภัย สัญญานเตือนภัย หัวใจล้มเหลว สัญญานเตือน ภาวะหัวใจวาย แก้ไขอย่างไร เมื่อหัวใจหยุดเต้น กินอาหาร ให้ดีต่อหัวใจ ไขมันในเลือด ชนิดต่างๆ ไขมันในอาหาร มีอะไรบ้าง? วิธีกินไขมัน ให้ปลอดภัย ออกกำลังกาย อยากออกกำลังกาย เริ่มต้นยังไงดี? วิธีการเดิน เพื่อสุขภาพ ดูแลอารมณ์ วิธีหายใจด้วยท้อง ผ่อนคลายความเครียด ประสบการณ์จากเพื่อน สัญญาณ หรือ อาการแบบไหนที่รอไม่ได้แล้ว เรื่องเล่าจากคุณฉมาวงส์ สุรยจันทร์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์ ผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วย เรื่องเล่าจากคุณสภาวดี เชื้อสิงโต การปรับพฤติกรรม เพื่อดูแลหัวใจ เรื่องเล่าจาก พล.อ.ต.กิจจา ชนะรัตน์