คอร์ส โรคหัวใจและหลอดเลือด
โมดูลที่ 2 - ปัญหาหัวใจ
บทเรียนที่ 1 - ปัญหาหัวใจ
เมื่อหัวใจมีปัญหา
อันที่จริงแล้วปัญหาและความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจมีหลายประเภท แต่เมื่อพูดถึงโรคหัวใจทั่วๆ ไป เราจึงมักหมายถึงภาวะนี้ มีคำอยู่ 3 คำ ที่เรามักได้ยินบ่อยๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจคือ
- หัวใจล้มเหลว
- หัวใจวาย
- หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
ซึ่งบางคนอาจคิดว่าเหมือนกันแต่จริงๆ แล้วแตกต่างกัน แต่ก็มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันนะ
หัวใจล้มเหลว
- คือภาวะหัวใจที่ทำงานผิดปกติจนเกิดอาการเหนื่อย หายใจไม่สะดวก ขาสองข้างบวมจากน้ำและโซเดียมในร่างกายและปอด
- สาเหตุอาจเกิดจากโรคจากโรคของหลอดเลือดหัวใจ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคของลิ้นหัวใจเป็นต้น ภาวะหัวใจล้มเหลวจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง รักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด หรือใส่เครื่องเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจ
หัวใจวาย
- หัวใจวายมีสาเหตุก็คือ คราบไขมันที่สะสมในผนังของหลอดเลือดชั้นในแตกออกและกลายเป็นแล้วกลายเป็นลิ่มเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลัน เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตาย
- เมื่อหัวใจวายจะรู้สึกเจ็บหน้าอกกระทันหัน ซึ่งมักร้าวไปยังแขนซ้ายหรือด้านซ้ายของคอ หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น เหงื่อออก หัวใจวายมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ทันได้ตั้งตัว
- รักษาด้วยการให้อ๊อกซิเจน ยาแอสไพลิน และไนโตรกลีเซอร์ลินชนิดอมใต้ลิ้น จากนั้นจะต้องพิจารณาถึงการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด หรือการขยายหลอดเลือดที่ตีบให้กว้างขึ้น
หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
- เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลันเพราะคลื่นไฟฟ้ามีความผิดปกติ หัวใจจึงเต้นผิดปกติรุนแรงจนบางครั้งหยุดเต้น หรือเต้นไม่พอที่จะนำเลือดไปเลี้ยงสมองและอวัยวะอื่นๆ
- ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยไม่มัสัญญานเตือน อาการคือ เป็นลม หมดสติทันทีจากการที่สองขาดเลือดทันที หัวใจไม่เต้น ไม่มีชีพจร หยุดหายใจ
- จึงต้องรีบปั้มหัวใจเพื่อช่วยคงการหมุนเวียนเลือดของผู้ป่วย แล้วใช้เครื่องกระตุกหัวใจ หรือใช้เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจกระตุ้นหัวใจให้กลับมาเต้นปกติโดยเร็วที่สุด การกระตุ้นหัวใจจะทำให้เกิดคลื่นสัญญานในไฟฟ้า เกิดการจัดระเบียบใหม่ แล้วทำให้หัวใจเต้นอีกครั้ง
- ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอายุน้อย สาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น อาจจะมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือโรคทางการนำไฟฟ้าหัวใจแต่ไม่ทราบมาก่อน เมื่อมาการออกแรงที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ จนหัวใจหยุดเต้น ในกรณีที่่ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 40 ปี ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ้งพบบ่อยที่สุด ทำให้เวลาร่างกายออกแรงมากหัวใจจะทำงานมากขึ้น แต่เลือดไม่สามารถมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ทำให้หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงจนหมดสติ เสียชีวิตได้ในทันที
จะเห็นได้ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้หัวใจมีปัญหา อยู่ที่คุณภาพของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจนั่นเอง
เราจึงควรดูแลหลอดเลือดหัวใจให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาหัวใจ
คุณได้สะสม 0 แต้มกิจกรรม [ เริ่มสะสมใหม่ ]
สำหรับคอร์สโรคหัวใจ สะสมครบ 13 แต้ม เพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร NCDs School รู้เรื่องโรคหัวใจ จากมูลนิธิหมอชาวบ้าน
กติกา
- ทำกิจกรรมท้ายบทเรียน ถ้าทำถูกกิจกรรมใดจะได้คะแนน 1 แต้ม (ทำถูกข้อเดิมไม่ได้คะแนนเพิ่ม)
- คะแนนจะถูกลบเมื่อท่านปิดหน้าต่างบราวเซอร์ หากต้องการสะสมเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตร กรุณาทำให้เสร็จในการเรียนครั้งเดียว
- คะแนนที่สะสมเป็นของคอมหรือมือถือเครื่องนั้นๆ ผู้สะสมคนเดิมหากเปลี่ยนเครื่องจะต้องเริ่มสะสมใหม่